รูปแบบตัวก่อความเครียด ของ ความเครียด (จิตวิทยา)

ตัวก่อความเครียด (stressor) เป็นเหตุการณ์ ประสบการณ์ หรือสิ่งเร้าใดก็ได้ในสิ่งแวดล้อมที่ทำให้บุคคลเครียด[32]โดยบุคคลมองว่าเป็นภัยหรือเป็นข้อท้าทาย และอาจเป็นเรื่องทางกายหรือทางใจนักวิจัยพบว่า ตัวก่อความเครียดสามารถทำให้เสี่ยงโรคทางกายและใจมากขึ้น เช่น โรคหัวใจและความวิตกกังวล[33]

ตัวก่อความเครียดมีโอกาสมีผลต่อสุขภาพของบุคคลมากกว่าเมื่อมันเรื้อรัง ทำให้วุ่นวายมาก และมองว่าควบคุมไม่ได้[33]ในสาขาจิตวิทยา นักวิชาการปกติจะจัดตัวก่อความเครียดเป็นหมวด 4 หมวดคือ วิกฤติการณ์/หายนะ เหตุการณ์สำคัญในชีวิต ปัญหาในชีวิตประจำวัน และตัวก่อความเครียดพื้นหลัง

วิกฤติการณ์/หายนะ

ตัวก่อความเครียดเช่นนี้ไม่สามารถรู้ล่วงหน้าหรือพยากรณ์ได้ และดังนั้น จึงควบคุมไม่ได้[33]ตัวอย่างรวมทั้งภัยพิบัติใหญ่ต่าง ๆ เช่น น้ำท่วม แผ่นดินไหว และสงครามเป็นต้นแม้จะมีน้อย แต่ก็เป็นเหตุให้เครียดมากงานวิจัยที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดพบว่า หลังภัยพิบัติทางธรรมชาติ ผู้ประสบภัยจะเครียดมากขึ้น[33]

ส่วนความเครียดเนื่องจากการสู้รบเป็นทั้งแบบฉับพลันและแบบเรื้อรังเพราะต้องทำการอย่างรวดเร็วและเพราะแรงกดดันให้โจมตีก่อน อุบัติเหตุฆ่าฝ่ายเดียวกันจึงอาจเกิดได้วิธีการป้องกันต้องลดความเครียด เน้นการฝึกระบุยานพาหนะและตัวระบุฝ่ายชนิดอื่น ๆ เพิ่มสำนึกถึงยุทธวิธี และการวิเคราะห์ความเสี่ยงอย่างต่อเนื่องของผู้นำทุกระดับ[34]

เหตุการณ์สำคัญในชีวิต

ตัวอย่างสามัญของเหตุการณ์สำคัญในชีวิตรวมทั้งการแต่งงาน การเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย การเสียชีวิตของบุคคลที่รัก การได้สมาชิกใหม่ในครอบครัว การย้ายที่อยู่เป็นต้นเหตุการณ์เหล่านี้ ไม่ว่าจะจัดว่าดีหรือไม่ดี อาจทำให้รู้สึกไม่แน่ใจหรือกลัว ซึ่งในที่สุดก็จะก่อความเครียดยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยพบระดับความเครียดที่สูงขึ้นสำหรับนักเรียนมัธยมที่เข้าเรียนในมหาวิทยาลัย โดยนักศึกษาปี 1 มีโอกาสเครียดเป็น 2 เท่าของนักศึกษาปีสุดท้าย[35]

แต่งานวิจัยก็พบว่า เหตุการณ์สำคัญในชีวิตไม่ค่อยเป็นตัวก่อความเครียดที่สำคัญ เพราะเกิดน้อยมาก[33]ระยะเวลาหลังจากเริ่มเกิดและความเป็นเรื่องดีหรือไม่ดี เป็นปัจจัยกำหนดว่า มันเป็นเหตุให้เครียดหรือไม่และเครียดแค่ไหนนักวิจัยได้พบว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในเดือนที่ผ่านมาโดยทั่วไปจะไม่เชื่อมกับความเครียดหรือความเจ็บป่วย แต่เหตุการณ์เครียดเรื้อรังที่เกิดมากกว่า 2-3 เดือนก่อนจะเชื่อมกับทั้งความเครียด ความเจ็บป่วย[36]และการเปลี่ยนแปลงทางบุคลิกภาพ[16]

อนึ่ง เหตุการณ์ดี ๆ ในชีวิตจะไม่เชื่อมกับความเครียดหรือว่าเชื่อมกับความเครียดเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้นในขณะที่เหตุการณ์ไม่ดีอาจเชื่อมกับความเครียดและปัญหาสุขภาพที่มาด้วยกัน[33]อย่างไรก้ดี ประสบการณ์ดี ๆ และการเปลี่ยนแปลงชีวิตในทางที่ดี อาจเป็นตัวพยากรณ์การลดระดับ neuroticism[16][17]

ในชีวิตประจำวัน

หมู่นี้รวมความรำคาญและความยุ่งยากในชีวิตประจำวัน[33]ตัวอย่างรวมการตัดสินใจ การทำงานให้เสร็จตามกำหนดเวลาไม่ว่าจะเป็นที่ทำงานหรือสถานศึกษา รถติด การประสบกับคนน่ารำคาญ ความขัดแย้งกับผู้อื่น เป็นต้นอย่างไรก็ดี แต่ละคนจะมีตัวก่อความเครียดในชีวิตประจำวันที่ไม่เหมือนกัน เพราะทุกคนไม่ได้รู้สึกเหมือนกันว่า เหตุการณ์หนึ่ง ๆ ก่อความเครียดยกตัวอย่างเช่น คนโดยมากอาจจะรู้สึกเครียดกับการกล่าวปาฐกถา แต่นักการเมืองมืออาชีพอาจไม่รู้สึกเช่นนี้

ความยุ่งยากในชีวิตประจำวันเป็นตัวก่อความเครียดที่มีบ่อยที่สุดสำหรับผู้ใหญ่โดยมากจึงทำให้มีผลทางสรีรภาพมากที่สุดต่อบุคคลนักวิชาการได้ตรวจระดับความเครียดเพราะความยุ่งยากในชีวิตเทียบกับอัตราการตายแล้วสรุปว่า มีสหสัมพันธ์อย่างมีกำลังระหว่างบุคคลที่จัดความยุ่งยากในชีวิตประจำวันว่าเครียดมากกับอัตราการตายที่สูงดังนั้น ความรู้สึกว่า ความยุ่งยากทำให้เครียดแค่ไหน อาจบรรเทาผลทางสรีรภาพของตัวก่อความเครียดในชีวิตประจำวัน[37]

ตามจิตวิทยา มีความขัดแย้ง 3 อย่างที่ก่อความเครียด

  • ความขัดแย้งแบบสู้-สู้ (approach-approach conflict) ซึ่งเกิดเมื่อเลือกทางเลือกที่ดูดีเท่า ๆ กัน เช่น จะไปดูภาพยนตร์หรือคอนเสิร์ตดี[33]
  • ความขัดแย้งแบบหลีก-หลีก (avoidance-avoidance conflict) ซึ่งเกิดเมื่อเลือกทางเลือกที่ไม่ดีเท่า ๆ กัน เช่น การต้องกู้ธนาคารเพิ่มโดยมีข้อตกลงที่ไม่ดีเพื่อจ่ายหนี้การจำนอง หรือบ้านที่อยู่ถูกบังคับจำนอง[33]
  • ความขัดแย้งแบบสู้-หลีก (approach-avoidance conflict)[33] เกิดเมื่อต้องเลือกทำสิ่งหนึ่ง ๆ ที่มีทั้งข้อดีข้อเสีย เช่น เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยราคาแพง (เช่น ต้องกู้หนี้ยืมสิน แต่ได้การศึกษาที่ดีกว่าและได้โอกาสการบรรจุงานที่ดีกว่าเมื่อจบการศึกษา)

ส่วนความเครียดเนื่องกับการเดินทางมีอยู่ 3 หมู่ คือ เสียเวลา เรื่องไม่คาดฝัน (เหตุการณ์ที่ไม่รู้ล่วงหน้า เช่น กระเป๋าเดินทางหายหรือมาช้า) และการไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวัน[38]

พื้นหลัง

ตัวก่อความเครียดพื้นหลัง (ambient stressors) เป็นตัวก่อความเครียดทั่ว ๆ ไป (เทียบกับตัวก่อความเครียดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ) ในระดับต่ำ ที่เป็นส่วนของพื้นหลังสิ่งแวดล้อมและนิยามว่า "เรื้อรัง มีค่าเชิงลบ ไม่เร่งด่วน รู้สึกได้ และพยายามเปลี่ยนพวกมันไม่ได้"[39]ตัวอย่าง เช่น มลภาวะ เสียง ประชากรแออัด และรถติดไม่เหมือนกับตัวก่อความเครียด 3 อย่างอื่น ๆ ตัวนี้อาจ (แต่ไม่จำเป็นต้อง) มีผลลบต่อความเครียดโดยไม่รู้สึกตัว[39]

ในองค์กร

งานศึกษาในกองทัพทหารและสนามรบแสดงว่า ตัวก่อความเครียดที่มีกำลังมากที่สุดอาจเกิดจากปัญหาการจัดระบบองค์กร/หน่วย[40]ความเครียดเช่นนี้สามารถเกิดทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน[41]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความเครียด (จิตวิทยา) http://www.collinsdictionary.com/dictionary/englis... http://blog.ted.com/could-stress-be-good-for-you-r... http://www.ttgmice.com/article/cwt-rolls-out-solut... http://oregonstate.edu/instruct/dce/hhs231_w04/nin... http://www.cla.purdue.edu/academic/engl/theory/psy... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2568977 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3374921 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3871742 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4253863 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11392869